ตลอดการดำเนินงานกว่า 3 ปี ของ โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงงานและทรงศึกษาผ้าทอพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมพื้นบ้าน ทรงสร้างแรงบันดาลใจ แบ่งปันองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนพระองค์ พระราชทานแนวพระดำริ ในการพัฒนาผืนผ้าและผลิตภัณฑ์ ให้มีความร่วมสมัยและเป็นสากล ให้แก่ช่างทอ ช่างหัตถศิลป์ และผู้ประกอบการ รวมถึงทรงพัฒนาออกแบบลายผ้าพระราชทาน และพระราชทานลายผ้านี้ให้แก่ช่างทอผ้า และช่างหัตถกรรมทุกภูมิภาค เพื่อนำไปสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ตามอัตลักษณ์ณ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ สมาคมแม่บ้านมหาดไทย จัดงานเปิดตัว หนังสือเครื่องสานไทย เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 36 พรรษา เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพและพระกรณียกิจด้านการพัฒนาแฟชั่นให้ยั่งยืน (Fashion Sustainability) ภายในงาน Silk Festival 2023 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน Silk Success Sustainability ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 6-7 เมืองทองธานี เมื่อวันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2566
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตลอดระยะกว่า 3 ปี ของการดำเนินโครงการตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้น้อมนำพระดำริแนวคิดมาพัฒนาสร้างสรรค์ ต่อยอดภูมิปัญญาผ้าไทยให้ทันสมัย มาปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านโครงการมากมาย อาทิ ดอนกอยโมเดล นาหว้าโมเดล บาติกโมเดล Young OTOP รวมถึง การพัฒนาโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) และล่าสุดพระองค์ท่านพระราชทาน เครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion: แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” แก่ช่างทอผ้า ช่างหัตถกรรม ผู้ผลิต และผู้ประกอบการที่สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ด้วยขั้นตอนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า สิ่งที่พระองค์ท่านพระราชทานเกิดประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจฐานราก
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยเดินหน้าโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรม สู่ Sustainable Fashion แฟชั่นแห่งความยั่งยืน ตามแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้จัดทำ หนังสือเครื่องสานไทย รวบรวมภูมิปัญญาการจักสานพื้นถิ่น ที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตวัฒนธรรม ผ่านผลงานเครื่องจักสานชิ้นเอกที่มีความร่วมสมัยเป็นสากล ทั้งแบบรูปเล่ม และ ฉบับดิจิทัล เพื่อให้ประชาชน ช่างทอ ช่างหัตถกรรม ผู้ประกอบการ นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจ ได้นำองค์ความรู้ไปต่อยอดในอนาคต
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคม
No comments:
Post a Comment