TCP Spirit ชวนอาสาผนึกชุมชน เรียนรู้จัดการขยะ เก็บกลับ เพื่อสร้างประโยชน์ใหม่ - Fintech Marts

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Friday, November 11, 2022

TCP Spirit ชวนอาสาผนึกชุมชน เรียนรู้จัดการขยะ เก็บกลับ เพื่อสร้างประโยชน์ใหม่


กลุ่มธุรกิจ TCP ชวนอาสาสมัคร TCP Spirit ลงใต้ ทำภารกิจปลุกพลังห่วงใยสิ่งแวดล้อม ภายใต้ชื่อ แลเมืองแร่นอง ชวนมาลองจัดการขยะ ชูแนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มุ่งสร้างความเข้าใจและสนับสนุนการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เข้ามาสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อให้เกิด บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน พร้อมผนึกความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ตั้งเป้าหมายระยะยาว 3 ปี สร้างต้นแบบการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์และการจัดการขยะแบบบูรณาการเพื่อนำไปสู่การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตต่อบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มหลังการบริโภค

นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า "TCP Spirit ในปีนี้เราได้ขยับมาสู่การทำกิจกรรมด้านการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ หรือ บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการจัดการขยะอย่างถูกวิธี เราจึงเน้นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน และอาสาสมัคร ผ่านกิจกรรมที่ให้ความรู้ ความเข้าใจการจัดการเศษขยะ มาสร้างให้เกิดประโยชน์ใหม่ นำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน

ในขณะเดียวกัน TCP Spirit เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จะช่วยสร้างโมเดลการจัดเก็บกลับบรรจุภัณฑ์และจัดการขยะ ซึ่งเป็นโครงการยกระดับแนวปฏิบัติการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility-EPR) ที่ได้ทำงานร่วมกับ IUCN ทั้งในไทยและเวียดนาม โดยตั้งเป้าที่จะจัดเก็บขยะอย่างน้อย 730 ตัน รวมทั้งสร้างโมเดลต้นแบบความรับผิดชอบในการจัดการขยะของกลุ่มธุรกิจ TCP ภายในระยะเวลา 3 ปี"

TCP Spirit คณะเศษสร้าง แลเมืองแร่นอง ชวนมาลองจัดการขยะ

TCP Spirit ปีนี้ปักหมุดที่จังหวัดระนอง ประตูสู่ภาคใต้ ความงดงามของชายฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องเครือข่ายพัฒนาโครงการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการปัญหาขยะ ที่กลุ่มธุรกิจ TCP ได้ทำงานร่วมกับ IUCN สำหรับครั้งนี้อาสาสมัครได้เรียนรู้ปัญหาและผลกระทบจากขยะที่บ้านหาดทรายดำ จ.ระนอง พื้นที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลกุ้ง หอย ปู ปลา และสัตว์น้ำนานาชนิด ชาวบ้านในชุมชนจึงมีรายได้หลักจากการทำประมงพื้นบ้าน แต่ในปัจจุบันมีปัญหาปริมาณขยะเพิ่มขึ้น และมีข้อจำกัดในการจัดการขยะที่กำลังเริ่มสร้างผลกระทบต่อคนในพื้นที่มากขึ้น

สุปราณี กำปงซัน หัวหน้าแผนงานประเทศไทย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) กล่าวว่า "ขยะทะเลส่วนใหญ่นั้นมาจากขยะที่หลุดลอดมาจากการบริโภคและใช้สอยในครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วนจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนบกประมาณ 80% และกิจกรรมทางทะเล 20% ดังนั้นจุดเริ่มต้นที่สำคัญคือการป้องกันขยะจากครัวเรือนไม่ให้เล็ดลอดลงไปในทะเล เริ่มจากปลูกฝังองค์ความรู้เรื่องการคัดแยกและวิธีการจัดการตามประเภทให้กับคนในชุมชน เป้าหมายสูงสุดคือ ให้ชุมชนบริหารจัดการขยะแต่ละประเภทได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการขยะเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องทำให้เป็นปกติ ไม่ได้เน้นย้ำว่าวัสดุรีไซเคิลต้องนำไปขายเพื่อรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น แต่เป็นหน้าที่ที่ต้องช่วยกันเพื่อลดการปนเปื้อนและปกป้องมลภาวะจากขยะในพื้นที่ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงทางอาหารและแหล่งรายได้อย่างยั่งยืนให้กับคนในชุมชน ความร่วมมือภายใต้โครงการ TCP Spirit ในวันนี้ เป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญ เพื่อเก็บหลักฐานเชิงประจักษ์ และรู้ว่าปลายทางในการจัดการกับบรรจุภัณฑ์ที่มาจากการอุปโภคบริโภคของคนในชุมชนเป็นอย่างไร เกิดปัญหาอะไร มีช่องว่างในการเรียกเก็บกลับคืนและนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลตรงไหน ชุมชนขาดทรัพยากรอะไร นำข้อมูลที่ได้มาไปวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจในบทบาทของตนเองในการจัดการขยะทุกประเภทในชุมชนรวมถึงบรรจุภัณฑ์ และร่วมรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่"

นายไพบูลย์ สวาทนันท์ แพทย์ประจำตำบลหงาว จ. ระนอง ผู้นำชุมชนบ้านหาดทรายดำ กล่าวว่า "ภารกิจของเราในปัจจุบันคือการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจกับชุมชน ชี้ให้เห็นว่าน้ำเสีย และขยะจะทำให้ทรัพยากร ธรรมชาติเสียหาย สัตว์น้ำไม่มี จากที่เคยสร้างรายได้และอาชีพให้ชุมชน ก็จะหมดในที่สุด เราต้องการสร้างชุมชนบ้านหาดทรายดำ ให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ มาศึกษาว่าจะจัดการขยะให้หมดภายในชุมชนได้อย่างไร โดยชุมชนทำได้เอง และไม่เป็นภาระส่วนกลางมารับขยะไปจัดการต่อ ช่วยลดต้นทุนค่าแรง ค่ารถขนขยะ ช่วยประหยัดงบประมาณได้ถึงปีละ 2-3 ล้านบาท และตั้งเป้าขยะเท่ากับศูนย์ใน 1 ปี"

นอกจากนี้ อาสาสมัคร TCP Spirit ยังได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมการจัดการขยะที่โรงเรียนบ้านทุ่งหงาว จ.ระนอง และประดิษฐ์ถังขยะ ฉลามวาฬ เพื่อส่งมอบให้โรงเรียนบ้านทุ่งหงาว เพื่อใช้ในการคัดแยกขยะขวดพลาสติกต่อไป

กิจกรรมตลอด 3 วัน อาสาสมัครได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงผ่านการพูดคุยกับผู้นำชุมชน ลงมือเก็บขยะร่วมกับชาวบ้าน เข้าใจเรื่องการจัดการขยะในมิติต่าง ๆ เห็นมูลค่าของวัสดุรีไซเคิลที่เพิ่มขึ้น และเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดจนส่งต่อแรงบันดาลใจให้คนรอบข้างเห็นถึงความสำคัญและเริ่มลงมือแยกขยะ เพราะขยะจะกลายเป็นวัสดุรีไซเคิลไม่ได้เลย หากไม่มีการคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งผลที่ได้นี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านปลุกพลังห่วงใยสิ่งแวดล้อม (Caring) ของกลุ่มธุรกิจ TCP เพื่อส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

ที่มา: https://clipxnews.cuvw.xyz/2022/11/tcp-spirit.html (ดูรายละเอียดและภาพประกอบเพิ่มเติม)

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad